เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการขนส่งสินค้าหรือโลจิสติกส์ ทั้งการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ล้วนเกี่ยวกับพิธีการด้านศุลกากรด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันเอกสารในการใช้เดินเรื่องนำเข้าหรือส่งออกสินค้า จะอยู่ในรูปแบบออนไลน์หรือใช้โปรแกรม Paperless ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกสินค้ามือใหม่ควรรู้ นั่นก็คือคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องศุลกากร เพราะในการดำเนินการกับกรมศุลกากร คุณจะต้องพบเจอกับคำศัพท์เหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะฉะนั้น NextA จึงได้รวบรวมเอา 7 คำศัพท์น่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้ามาฝาก เป็นคำศัพท์ที่คุณอาจพบได้บ่อยๆ มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย
- ภาษีศุลกากร
คือการเก็บภาษีจากการนำเข้าสินค้าเพื่อเป็นกำแพงภาษี และเก็บภาษีจากการส่งออก เพื่อป้องกันอุตสาหกรรมในประเทศและส่งเสริมการส่งออก ซึ่งปัจจุบันนี้ ภาษีศุลกากรจะเริ่มมีความสำคัญน้อยลง เนื่องจากทั่วโลกกำลังเปิดการค้าเสรี
- ของต้องห้าม
ของที่กฎหมายห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย เช่น วัตถุลามก สินค้าที่ตราหรือลวดลายรูปธงชาติ ยาเสพติด สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
- ของต้องกำกัด
สินค้าที่กฎหมายกำหนดว่า หากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้นๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น
- ของตกค้างหรือสินค้าตกค้าง
- ของที่นำเข้ามาและปล่อยให้อยู่ในความดูแลของศุลกากรนานถึง 2 เดือนโดยไม่มีผู้แสดงตัวเป็นเจ้าของ
- ของที่นำเข้ามาเป็นของสด เสียง่าย เจ้าของยังไม่ได้รับมอบไป แต่ของนั้นแสดงอาการบูดเน่าแล้วภายหลัง 3 วันนับจากวันมาถึง
- สินค้าผ่านแดนที่นำเข้ามาครบ 5 เดือนแล้วยังไม่ส่งออก
- ของอันพึงจะริบ
- ของที่ยังไม่ได้เสียภาษี ของต้องกำจัด ของต้องห้าม หรือของใดๆ ที่ไม่ได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้อง
- เรือชนิดใดๆ อันมีระวางไม่เกิน 250 ตัน รถ เกวียน ยานพาหนะ ภาชนะต่างๆ ที่ช่วยในการขนของตามข้อ 1
- เรือที่อยู่ภายในเขตท่าและมีสินค้าในเรือ ภายหลังปรากฏว่าเรือลำนั้น เบาลอยตัวขึ้นหรืออับเฉา โดยนายเรือไม่สามารถพิสูจน์ว่าได้ขนสินค้าโดยชอบ
- หีบห่อที่มีขนาดหรือลักษณะผิด พรบ. ศุลกากร
- ของที่ทำทัณฑ์บนว่าจะส่งออกโดยเรือลำใด แต่มิได้นำลงบรรทุกเรือให้เสร็จก่อนเรือลำนั้นออก
- สินค้าที่ขนถ่ายจากเรือโดยมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศุลกากร
- สินค้าที่เก็บอยู่ในคลังสินค้าแล้วลักลอบนำออกไปหรือเปลี่ยนแปลงสภาพโดยมิได้รับอนุญาต
- ของที่ได้คืนค่าภาษีแล้ว และให้นำไปท่าเรือเพื่อการส่งออกและพบว่าของนั้นไม่ตรงกับใบขนสินค้าหรือเอกสารต่างๆ เป็นเท็จ
- ของที่ขนส่งนอกทางอนุมัติ
- ของยึดหรือสินค้าต้องยึด
ของใดๆ อันพึงต้องริบตาม พรบ.ศุลกากร ถ้าเจ้าของมิได้มายื่นคำร้องเองภายใน 60 วันสำหรับยานพาหนะ และ 30 วันสำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันยึดได้ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน
- เขตปลอดอากร (Free Zone)
เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมหรือกิจการอื่น ที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในแขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์อากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากคำศัพท์เบื้องต้นเหล่านี้แล้ว ยังมีคำศัพท์อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้า อีกทั้งขั้นตอนการดำเนินเรื่องกับทางศุลกากร ก็ค่อนข้างใช้เวลาและมีเอกสารที่ต้องใช้หลายชุด แม้ว่าจะเป็นการยื่นเอกสารทางออนไลน์หรือโปรแกรม Paperless ก็ตาม ผู้ประกอบการหลายราย จึงนิยมใช้บริการกับบริษัทชิปปิ้งหรือโลจิสติกส์ในการติดต่อนำเข้าให้ เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากและวุ่นวายด้านเอกสาร ซึ่งปัจจุบันก็มีผู้ให้บริการชิปปิ้งหลายรายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Papershipping, Bkkshipping และ Handshipping เป็นต้น ที่สำคัญ บริษัทชิปปิ้งเหล่านี้ มีการใช้โปรแกรมคีย์ใบขนของ Next A ทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินเอกสารและไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถคีย์ใบขนเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอดเวลา