tiffa สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หรือย่อมาจาก Thai International Freight Forwarders Association) เกิดขึ้นเพื่อรองรับเศรษฐกิจของไทยที่ขยายตัวไปอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1980 ทำให้มีการนำเข้าสินค้าและส่งออกของประเทศเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้า (Freight Forwarder) เติบโตและก้าวหน้า จนกระทั่งเกิดเป็นธุรกิจที่ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมากมาย
Freight Forwarder ก็คือตัวแทนผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศโดยตรง หรือนักธุรกิจที่ต้องการลดความยุ่งยากในการดำเนินเอกสารนำเข้าด้วยตัวเอง Freight Forwarder เปรียบเสมือนผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำเข้าสินค้าแทนผู้ประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
อย่างไรก็ดี หลายคนอาจคุ้นเคยกับคำว่า Shipping และเกิดความสับสนกับคำว่า Freight Forwarder ซึ่งทั้งสองคำนี้ มีความหมายและหน้าที่ใกล้เคียงกัน ต่างกันเพียงเล็กน้อยตรงที่ Freight Forwarder ไม่มีท่าเรือ คลังเก็บสินค้า และตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง จะเป็นลักษณะของการไปเช่าบริการต่ออีกที ในขณะที่ Shipping ส่วนใหญ่จะมีท่าเรือ คลังเก็บสินค้า และตู้คอนเทนเนอร์ที่เป็นของตนเอง ทำให้สามารถรองรับลูกค้าที่ต้องการนำเข้าในปริมาณมากและเป็นรายใหญ่
Freight Forwarder คือใคร ?
Freight Forwarder คือบริษัทที่เชี่ยวชาญในการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าในนามของลูกค้า (ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า) เป็นตัวแทนในการจัดหาและจัดการขนส่งสินค้าของลูกค้าไปยังปลายทางหรือเรียกว่าเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสินค้ากับผู้รับขนส่งสินค้า หรืออาจเป็นผู้ขนส่งสินค้าโดยตรงก็ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว Freight Forwarder จะให้บริการครบวงจร เรียกได้ว่าดำเนินทุกอย่างแทนผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเรื่องการดำเนินเอกสารต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นการยื่นเอกสารทางออนไลน์เกือบทั้งหมด หรือที่เรียกว่า E-Paperless เนื่องจากกรมศุลกากรเปลี่ยนรูปแบบการยื่นเอกสารให้เป็นระบบอิเล็กทรอกนิกส์ เพื่อความสะดวกสบายในการยื่นเอกสารและลดการใช้ทรัพยกรจากธรรมชาติในการผลิตกระดาษ
ทำไมถึงควรใช้บริการ Freight Forwarder ?
หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ผู้ส่งต่อในการขนส่ง สำหรับการนำเข้า – ส่งออกสินค้า แต่เนื่องจากการนำเข้าและส่งออกเกี่ยวข้องกับเอกสาร และกฎระเบียบจำนวนมาก ซึ่งกฎระเบียบ กฎหมายทางศุลกากรและเอกสารที่จำเป็นต้องใช้นั้น ไม่ว่าจะเป็นใบขนสินค้า ใบกำกับภาษี Form E สำหรับใช้ลดหย่อนภาษีนำเข้า ฯลฯ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของ Freight Forwarder ที่ต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ในการดำเนินการนำเข้า-ส่งออกว่าจะทำอย่างไรให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น ประหยัดเวลา และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ จึงมักใช้บริการ Freight Forwarder เพื่อประหยัดเวลาและเรื่องน่าปวดหัวในกระบวนการนำเข้า-ส่งออก
Freight Forwarder ดีๆ หาได้จากที่ไหน ?
อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกมือใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์นำเข้า-ส่งออกสินค้าโดยตรง ทางเลือกที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจของคุณราบรื่น รวดเร็ว และง่ายดายคือใช้บริการกับบริษัท Freight Forwarder มืออาชีพที่ไว้ใจได้ โดยดูจากประสบการณ์การให้บริการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้หรือไม่ ตลอดจนมีตัวตนหรือช่องทางติดต่อที่เชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์บริษัท มีระบบ Call Center คอยให้บริการ ฯลฯ อาทิ Yale Logistics เป็นต้น