โปรแกรม Paperless กับช่องทางใหม่ในการชำระค่าธรรมเนียมของกรมศุลกากร

โปรแกรม Paperless กับช่องทางใหม่ของการชำระเงิน e-payment Next A โปรแกรม paperless โปรแกรม Paperless กับช่องทางใหม่ในการชำระค่าธรรมเนียมของกรมศุลกากร                       Paperless                                                                                      e payment Next A 768x402

โปรแกรม Paperless เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับระบบ E-Paperless ซึ่งทางกรมศุลกากรได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549 เพื่อให้การดำเนินพิธีการศุลกากรเป็นไปโดยไร้เอกสาร 

นอกเหนือจากการดำเนินพิธีการศุลกากรจะใช้ระบบที่รองรับโปรแกรม Paperless เกือบทั้งหมดแล้ว ในขั้นตอนของการชำระเงินค่าภาษีอาการ ค่าธรรมเนียม และค่าพิธีการศุลกากรต่างๆ ในยุคนี้ ต่างก็ต้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกันแทบทั้งสิ้น หรือที่เรียกว่าระบบ e-Payment โดยใช้วิธีตัดบัญชีผู้ประกอบการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 

ล่าสุด กรมศุลกากรได้รับความร่วมมือจากธนาคารอีก 6 แห่ง และตัวแทนรับชำระที่เป็น Non-bank อีก 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคากรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ตลอดจน เคาน์เตอร์เซอร์วิส และบิ๊กซี เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถชำระเงินผ่านช่องทางการให้บริการได้ตามความสะดวก ทั้งชำระผ่านระบบ Internet Banking, Mobile Banking, ATM และเคาน์เตอร์ธนาคาร 

ข้อมูลจากกรมศุลกากร ระบุว่า ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการที่เปลี่ยนมาชำระค่าภาษีทางอิเล็กทรอกนิกส์แล้วจำนวน 40 บริษัท ทั้งนี้ กรมศุลกากรได้มีแนวทางในการดำเนินการต่อยอดเพื่อรองรับการให้บริการรับชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม รายได้อื่นๆ และ/หรือเงินประกันผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ Bill Payment โดยเชิญชวนให้ธนาคารและตัวแทนรับชำระต่างๆ เข้าร่วมโครงการ และร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ตามเป้าหมายให้ธนาคารที่เป็นพันธมิตรกับกรมศุลกากรทั้ง 18 แห่งเข้าร่วม เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด 100% ในอนาคตอันใกล้

ธนาคารกรุงไทย

ก่อนหน้านี้ ธนาคารได้ออกบัตร Krungthai Logistics Card ซึ่งเป็นบัตรเดียวในไทยที่สามารถใช้ชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้อื่นๆ ทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยครอบคลุมทุกประเภทการจ่ายของหน่วยงานกรมศุลกากร เพื่อรองรับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ สำหรับครั้งนี้ กรมศุลกากรและธนาคารกรุงไทย ร่วมกับส่งเสริมระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดธุรกรรมด้านเงินสดและเช็ค เพิ่มความสะดวกและปลอดภัยให้กับผู้ประกอบการ

ธนาคารออมสิน

เพิ่มช่องทางการรับชำระค่าภาษีใบสั่งเก็บ ใบขนสินค้า และใบแจ้งหนี้ของกรมศุลกากร ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้บริการชำระภาษีดังกล่าวผ่านบริการ Mobile Banking (MyMo) และบริการ GSB Corporate Internet Banking โดยระบบจะเชื่อมต่อข้อมูลกับกรมศุลกากร เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องในการชำระเงินสำหรับผู้ประกอบการ

ธนาคารกรุงเทพ

ลูกค้าสามารถชำระภาษีใบสั่งเก็บ ใบขนสินค้า และใบแจ้งหนี้ผ่านช่องทางที่หลากหลายของธนาคารได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ทั้งเคาน์เตอร์สาขาธนาคาร ตู้ ATM และ Bualung mBanking ซึ่งระบบจะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการชำระเงินแบบเรียลไทม์ เพื่อช่วยลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังมีบริการ Customs Paperless e-Payment หรือบริการชำระภาษีศุลกากรออนไลน์ (รองรับการใช้งานโดยโปรแกรม E-Paperless) ผ่านเว็บไซต์ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เรื่องน่ารู้ของขั้นตอนนำเข้ากับกรมศุลกากร)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

การร่วมมือกับกรมศุลกากรในครั้งนี้ ทางระบบของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะเปิดให้บริการรับชำระตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ผู้ประกอบการในการชำระภาษีอากร โดยผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินได้ทันที นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกชำระผ่านสาขาของธนาคากรุงศรีฯ ได้ทั่วประเทศอีกด้วย

ธนาคารกสิกรไทย

ครอบคลุมการรับชำระค่าบริการของกรมศุลกากร ทั้งค่าพิธีการศุลกากร ใบสั่งเก็บเงิน และค่าธรรมเนียมผ่านระบบ e-Bill Payment ของธนาคาร ทั้งนี้ กสิกรไทยมีบริการ K-Cash Connect Plus เพื่อหนุนการดำเนินงานแก่ธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยระบบที่รองรับการสั่งจ่ายเงินของผู้ประกอบการ ซึ่งจะช่วยในเรื่องการอนุมัติการสั่งจ่ายตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการ ภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลด้วยระบบ OTP ผ่าน Secure Pass ตลอดจนวงเงินการชำระที่สามารถกำหนดได้โดยไม่จำกัดวงเงินในแต่ละครั้ง

ธนาคารไทยพาณิชย์

เป็นอีกหนึ่งธนาคารที่มีความมุ่งมั่นส่งเสริมให้สังคมไทยปรับเปลี่ยนรูปแบบการชำระภาษีอากรมาสู่การใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิสก์ โดยปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าของไทยพาณิชย์ สามารถชำระภาษีผ่านแพลตฟอร์ม SCB Business Net และ SCB Business Anywhere ที่มีขั้นตอนการสร้างรายการ และอนุมัติรายการอย่างสะดวกและรวดเร็ว สำหรับลูกค้าบุคคลสามารถชำระภาษีผ่าน SCB Easy App ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เคาน์เตอร์เซอร์วิส

เปิดรองรับการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งค่าใบขนสินค้า ค่าใบสั่งเก็บและค่าธรรมเนียมกรมศุลกากรผ่านจุดให้บริการรับชำระเงินเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทั้งในร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และตัวแทนจุดให้บริการรับชำระเงินเคาน์เตอร์เซอร์วิสอื่นๆ ทั้งในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าต่างๆ รวมกว่า 13,000 สาขา ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์

ปัจจุบัน บิ๊กซีได้เปิดให้บริการรับชำระค่าภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรด้วยใบขนสินค้าและใบสั่งเก็บ เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกในการชำระภาษีให้เป็นเรื่องง่าย โดยสามารถนำใบชำระเงินทั้ง 2 รายการมาชำระผ่านบริการ Big C Big Service ได้ทุกเคาน์เตอร์แคชเชียร์กว่า 1,300 สาขาทั่วประเทศ

ข้อมูล :กรมศุลกากร