โปรแกรมคีย์ใบขน รู้ยัง? สถานะใบขนมี 2 ประเภท

โปรแกรมคีย์ใบขน สถานะใบขนมี 2 ประเภท Next A โปรแกรมคีย์ใบขน โปรแกรมคีย์ใบขน รู้ยัง? สถานะใบขนมี 2 ประเภท                                   2                    768x402

โปรแกรมคีย์ใบขนสินค้า คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้าง จัดการ และนำส่งใบขนสินค้าขาเข้า ใบขนสินค้าขาออก ใบกำกับสินค้า (Invoice) และใบแสดงสินค้าไม่ครบจำนวน (Short) ไปยังกรมศุลกากร (Customs) ตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรได้กำหนดไว้ 

รวมถึงการชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบริษัทชิปปิ้งหรือผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้า ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน และลดความผิดพลาดของผู้ใช้งาน ตลอดจนลดการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ (E-Paperless)

การดำเนินการนำเข้าและส่งออกสินค้านั้น จะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อนและหลายกระบวนการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา โดยเฉพาะหากคุณต้องเป็นผู้ดำเนินการด้านเอกสารด้วยตนเองนั้น อาจะต้องใช้เวลามากกว่า 1 วันกว่าจะแล้วเสร็จ 

ปัจจุบัน ผู้นำเข้าสินค้าหลายราย จึงนิยมใช้บริการบริษัทชิปปิ้งหรือโลจิสติกส์ในการดำเนินการนำเข้า-ส่งออกให้มากกว่า เพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน การเดินทาง อีกทั้งยังช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่า ซึ่งบริษัทชิปปิ้งยุคนี้ ก็มีการพัฒนาไปไกลโดยหันมาใช้โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือโปรแกรมคีย์ใบขนบน Cloud ทำให้ไม่ต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในขั้นตอนสุดท้ายและสำคัญที่สุดของการขนส่ง คือการตรวจสอบสินค้าโดยละเอียดจากกรมศุลกากร ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นการตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางกรมศุลกากรได้กำหนดไว้ โดยดูจากข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่บริษัทชิปปิ้งได้ยื่นให้กับกรมศุลกากร โดยขั้นตอนดังกล่าว สินค้าจะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภทหรือเรียกกันว่า สถานะใบขน 2 ประเภท คือ

1. Green Line
คือสถานะของสินค้าที่ไม่ติดเงื่อนไขการนำเข้า ทำให้ไม่ต้องเปิดตรวจโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อน สามารถดำเนินการนำเข้าหรือส่งออกในขั้นตอนต่อไปได้เลย

2. Red Line
คือสถานะของสินค้า ที่จะต้องเปิดตรวจก่อนหรือเอ็กซเรย์ก่อน และหากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วผ่าน ก็จะสามารถดำเนินการนำเข้าหรือส่งออกขั้นตอนต่อไปได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าและส่งออกของกรมศุลากร และศึกษารายละเอียดของการนำเข้าสินค้าจีนแบถูกกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการปลอดภัยจากการถูกตำรวจจับและไม่เสี่ยงถูกกรมสรรพากรตรวจสอบในภายหลัง