โปรแกรมคีย์ใบขน ขั้นตอนการนำเข้าสินค้ากับบริษัทชิปปิ้งและ Logistics

โปรแกรมคีย์ใบขนกับขั้นตอนน่ารู้ของการนำเข้าสินค้า Next A โปรแกรมคีย์ใบขน โปรแกรมคีย์ใบขน ขั้นตอนการนำเข้าสินค้ากับบริษัทชิปปิ้งและ Logistics                                                                                               768x402

โปรแกรมคีย์ใบขน เป็นโปรแกรมจำเป็นในการนำเข้าและส่งออกสินค้าสำหรับบริษัทชิปปิ้ง สร้างความสะดวกสบายในการใช้บริการ ดำเนินพิธีการด้านเอกสารกับทางกรมศุลกากรเป็นอย่างมาก 

และปัจจุบันบริษัทชิปปิ้งหรือขนส่งโลจิสติกส์ จะมีการดำเนินเรื่องในการนำเข้าและส่งออกสินค้าให้ครบวงจร เป็น One-Stop Service ทั้งการจัดเตรียมเอกสาร และเดินพิธีการกับกรมศุลกากรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าลดความยุ่งยากและวุ่นวายในขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออก 

สำหรับครั้งนี้ Next A มีขั้นตอนการทำงานของบริษัทชิปปิ้งมาเล่าสู่กันฟัง ว่าพวกเขาทำงานกันอย่างไรบ้าง…

  1. เตรียมเอกสารที่จำเป็น ประกอบด้วย
  • ใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งปัจจุบันเป็นการคีย์ผ่านโปรแกรมคีย์ใบขน
  • ใบตราส่งสินค้า Bill of Lading (B/L) เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้แทนหลักฐานการขนส่งสินค้า โดยผู้ขนส่ง ออกให้กับผู้ส่งสินค้าเพื่อเป็นหลักฐานในการรับขนของ
  • บัญชีราคาสินค้า
  • บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ
  • ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า
  • ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร)

สำหรับเอกสารเหล่านี้ ผู้ให้บริการชิปปิ้งต้องนำมาดำเนินการภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษอีกต่อไป

  1. ขั้นตอนของพิธีการเดินเรื่องกับกรมศุลกากร
  • การโอนถ่ายหรือยื่นข้อมูลใบขนสินค้า

ขั้นตอนแรกนี้ บริษัทผู้นำเข้าสินค้าจะมีการบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ของทุกรายการเข้าไปในระบบ Service Counter ซึ่งโปรแกรมนี้จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าให้อัตโนมัติ โดยบริษัทผู้นำสินค้าเข้า สามารถใช้เอกสารใบขนส่งสินค้าที่ถูกแปลงข้อมูล นำส่งให้กับทางกรมศุลกากรผ่านทาง E-Customs ได้ทันที

เมื่อกรมศุลกากรได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนส่งสินค้าเพื่อตรวจสอบ ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร และราคาของสินค้านั้นมีความถูกต้องหรือไม่ หากข้อมูลที่กรอกไป มีข้อผิดพลาด ทางกรมศุลกากรจะแจ้งข้อมูลเหล่านั้นกลับมาเพื่อให้บริษัทขนส่งได้ทำการแก้ไขให้ถูกต้องเพื่อส่งไปให้กรมศุลกากรใหม่อีกครั้ง เมื่อข้อมูลถูกต้องครบถ้วน กรมศุลกากรจึงจึงออกใบเลขที่ขนสินค้าขาเข้าให้กับลูกค้าต่อไป

  • การตรวจสอบพิสูจน์ข้อมูลอย่างละเอียด

ขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้อย่างละเอียด โดยดูจากข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ยื่นให้กับกรมศุลกากร ซึ่งในขั้นตอนนี้ สินค้าจะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) ทางบริษัทผู้นำเข้าจะนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระภาษีอากรและวางประกันที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไป จะชำระได้ที่กรมศุลากากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือชำระผ่านธนาคาร อีกประเภทหนึ่งคือใบขนสินค้าขาเข้าประเภทที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) โดยจะต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าเรือที่นำเข้าสินค้านั้นๆ

  • การตรวจและการปล่อยสินค้า

ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนการตรวจสอบความเรียบร้อยแล้ว การปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือ เมื่อผ่านการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ข้อมูลของสินค้าจะถูกตรวจสอบความถูกต้องอย่างละเอียด พร้อมทั้งผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจ ถ้าหากใบขนสินค้านั้นได้รับการยกเว้นโดยหลังจากผ่านการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว สถานะการปล่อยสินค้าจะถูกส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปที่ท่าเรือที่ได้กำหนดไว้ และสามารถนำเข้าสินค้าได้ตามลำดับ